สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง
วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
ความซื่อสัตย์
หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555
ศิลาจารึกหลักที่ 1
ศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง บางทีเรียกว่า จารึกหลักที่ 1 เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพราะการใช้ภาษาในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเข้าลักษณะสากลที่ ว่า ภาษาของคนโบราณมักใช้ถ้อยคำพื้นๆ ประโยคที่ใช้กินความเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางตอนมีเสียงของคำสัมผัส ฟังไพเราะเข้าลักษณะของวรรณคดีได้ ปัจจุบันศิลาจารึกจัดแสดงไว้ที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยในพระที่นั่งศิว โมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผู้แต่ง สันนิษฐานว่าผู้แต่งอาจมีมากกว่า 1 คน เพราะเนื้อเรื่องในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 ใช้คำแทนชื่อว่า กู เข้าใจว่าพ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเอง
ตอนที่ 2 และ 3 เข้าใจว่าจะต้องเป็นผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมภายหลัง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)